ยางสำหรับ รถยนต์ส่วนบุคคล / รถตู้ / 4x4
แรงดันยางรถที่เหมาะสมกำหนดโดยข้อตกลงระหว่างผู้ผลิตยางรถกับผู้ผลิตรถยนต์
คำแนะนำสำหรับแรงดันยางรถที่เหมาะสมสามารถอ่านได้จากในคู่มือรถยนต์ บนฝาถังเติมน้ำมันเชื้อเพลิง หรือบนประตูด้านคนขับ
แรงดันยางรถมีผลต่อการทำงานของรถ เช่น ความสะดวกในการขับ เสถียรภาพในการบังคับทิศทาง การเบรก การเข้าโค้ง การยึดเกาะ และลักษณะการอื่นๆของการขับเคลื่อนโดยทั่วไป
การขับขี่ด้วยแรงดันยางรถที่ไม่ถูกต้อง จะก่อให้เกิดผลเสียอย่างใดอย่างหนึ่ง(หรืออาจมากกว่านั้น)ตามลักษณะที่กล่าวข้างต้น
ควรเติมลมยางยางรถตามที่ผู้ผลิตรถยนต์และผู้ผลิตยางรถกำหนด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของการบรรจุน้ำหนักและการใช้งาน
แรงดันยางที่กำหนดไว้หมายถึงแรงดันเมื่อยางอยู่ในสถานะที่เย็นและต้องรักษาไม่ใช้แรงดันต่ำกว่านี้ แรงดันที่อยู่ภายในยางรุ่นที่อุ่นจะสูงขึ้นเนื่องจากการขับขี่จะก่อให้เกิดความร้อน
ฉะนั้นไม่ควรลดความดันของยางอุ่น เพราะยางที่เย็นลงจะมีแรงดันที่ต่ำกว่าแรงดันที่กำหนด
แรงดันยาง (รวมถึงยางอะไหล่) ควรได้รับการตรวจสอบทุกๆ 14 วัน โดยเฉพาะหากต้องเดินไกลหรือเดินทางท่องเที่ยว เพราะอาจต้องรับน้ำหนักเพิ่ม โดยเพิ่มแรงดันของยางตามข้อกำหนด
การขับขี่ขณะแรงดันลมยางที่มากกว่ากำหนด สามารถส่งผลเสียดังนี้
ควรใช้แรงดันตามที่กำหนดโดยผู้ผลิตยางรถและผู้ผลิดรถยนต์
การขับขี่ขณะแรงดันลมยางที่น้อยกว่ากำหนด สามารถส่งผลเสียดังนี้
คำเตือน -- แรงดันลมยางต่ำกว่ากำหนดอาจนำไปสู่ความเสียหายภายในยางรถ ซึ่งทำให้ยางสูญเสียการใช้งาน หรือแม้กระทั่งเกิดการระเบิดของยางรถ ความเสียหายที่ตรวจไม่พบจะไม่ได้รับการซ่อมแซมโดยการปรับปรุงแรงดันยางรถ
ระบบเฝ้าระวังแรงดันลมยาง (TPMS) จำเป็นต้องติดตั้งไว้ในรถใหม่ทุกคัน (หมวดหมู่ M1) เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2014 ในยุโรป
ระบบควบคุมแรงดันลมยางมีระบบและตัวเซ็นเซอร์ที่ต่างกัน โดยมีระบบที่สำคัญอยู่ 2 ระบบคือ :
ระบบตรง - ตัวเซ็นเซอร์แรงดันลมยางจะถูกรวมเข้ากับวาล์วหรือติดอยู่กับขอบล้อหรือภายในยางรถ
ระบบอ้อม – ไม่มีตัวเซ็นเซอร์แรงดันลมยางที่ติดกับยางรถ/ขอบล้อ
ความแตกต่างของแรงดันสามารถวัดทางอ้อมจากการเปลี่ยนแปลงเส้นรอบวงยางขณะวิ่ง
ผู้ผลิตรถยนต์อาจเลือกระบบการจัดการแบบโดยตรงหรืออ้อม
การติดตั้งและการรักษาสภาพของระบบ TPMS ควรเหลือให้่ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
บางครั้งมีการใช้ไนโตรเจนแทนอากาศในการเติมลมยางรถ
ไนโตรเจนเป็นก๊าซเฉื่อย (ที่ไม่สามารถติดไฟได้) โดยทั่วไปหมายถึงอากาศที่แยกออกซิเจนออกแล้ว
อากาศประกอบไปด้วย ไนโตรเจน 78 เปอร์เซ็น เนื่องจากไนโตรเจนเป็นก๊าซเฉื่อย จึงถูกใช้บ่อยครั้งกับยางพิเศษ และ/หรือยางที่ใช้ในสิ่งแวดล้อมยิ่งยวด เช่นล้อเครื่องบิน และล้อรถที่ใช้กับเหมืองแร่ และไนโตรเจนยังนำไปใช้กับการแข่งรถเช่นกัน
สำหรับการใช้งานยางรถทั่วไป การเติมลมยางด้วยไนโตรเจนอาจไม่จำเป็น แต่อย่างไรก็ตาม การเติมลมยางไนโตรเจน ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายแก่ยางรถ และอาจมีส่วนทำให้การสูญเสียลมจากการซึมผ่านของลมออกจากยางรถลดลงเพียงเล็กน้อย แต่ไนโตรเจนไม่สามารถสูญเสียลมยาง ที่เกิดจากการเจาะทะลุ การรั่วไหลของอินเตอร์เฟซยางรถหรือขอบล้อ การรั่วไหลของวาล์ว และอื่นๆ
ไม่ว่าจะเติมลมยางด้วยไนโตรเจนหรืออากาศธรรมดาแรงดันลมยางยังคงเป็นปัจจัยสำคัญ เนื่องจากการใช้ก๊าซไนโตรเจนไม่สามารถทดแทนการคงสภาพแรงดันลมยางให้เป็นปกติ
เรามีการใช้คุ้กกี้เพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะสามารถใช้งานเว็บไซต์ของเราได้อย่างน่าพอใจมากที่สุด คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเพื่มเติมและคำแนะนำในการปรับค่าเกี่ยวกับคุ้กกี้